Big vs Small : เปรียบเทียบโครงการรายใหญ่กับรายย่อย
เป็นบทความที่อยากจะเขียนมาตั้งนานแล้ว โดยให้ทาง Kanit Wipvasutti ช่วยออกแบบภาพ Cover Page ไว้รอเนื้อหาตั้งนาน
วันนี้มีเวลานั่งทำจนเสร็จ เลยปล่อยออกมาให้อ่านกัน …
หลักความคิดส่วนตัวผมเชื่อว่า ทุกโครงการมีทั้งข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน โดยผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ก็จะมีข้อจำกัดในการทำโครงการที่แตกต่างกัน
ดังนั้น หากเราเข้าใจในข้อจำกัดและจุดเด่นจุดด้อย เวลาที่เราเข้าไปเลือกซื้อ เพื่อนจะได้ทราบและตัดสินใจซื้อ ได้ตรงตามความต้องการกันนะครับ
BIG.
– Strengths
Advertising : มุมมองการทำสื่อโฆษณา จะเน้นการทำ Mass Media ซึ่งการทำตลาดจะไม่ได้มองแต่เพียงเพื่อโปรโมทให้กับตัวโครงการแต่เพียงอย่างเดียว
ยังมองเรื่องการการสื่อสารสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ด้วย
Promotion : สามารถเล่นโปรโมชั่นได้แรงกว่า ลดแลกแจกแถม โปรจี๊ด , Big Deal รวมถึงเงื่อนไขทางการเงินการ Co-Campaign รวมกับสถาบันการเงิน
ก็จะสามารถทำได้ง่ายกว่า
Land : เนื่องจากได้เปรียบเรื่องของเงินทุนในการซื้อที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการ ดังนั้นทำเลในการเลือกซื้อจึงเป็นข้อได้เปรียบ เช่น ติดถนนใหญ่
ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ใกล้แหล่งสถานีสำคัญๆ
Facilities : การพัฒนาโครงการจะมองเรื่อง Concept ของโครงการ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับตัวโครงการ ดังนั้นการเพิ่มเติมในส่วนของ Facilities Area
ก็เพื่อเป็นการเพิ่มจุดขาย และความน่าสนใจให้กับโครงการ
– Weaknesses
Unit : ความหนาแน่น จำนวนยูนิตต่อไร่ จะสูงกว่า เนื่องจากต้องมาเฉลี่ยในเรื่องของต้นทุนราคาที่ดิน และเพื่อไม่ให้ราคา Package สูงเกินไป
ก็ต้องยอมปรับในเรื่องของขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในห้องให้มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
Price : ราคาจะสูงกว่า (บาทต่อตร.ม.) เนื่องจากต้นทุนหลายๆส่วน รวมถึงต้นทุนในความน่าเชื่อถือของแบรนด์ด้วย
Spec : สำหรับโครงการใหญ่ๆในบาง segment ในส่วนของ Spec ภายในห้องก็มักจะถูกลดทอน เพื่อควบคุมให้ราคาต่อยูนิต ไม่สูงมากนัก
และเน้นการ Present ขายในส่วนของ Concept ภาพส่วนกลางของโครงการแทน
SMALL .
– Strengths
Unit : การพัฒนาโครงการส่วนใหญ่จะเลือกขนาดที่ดินที่ไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นจำนวนยูนิต 1 โครงการ จึงไม่หนาแน่นมากนัก และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
จึงมักเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในห้องให้มากกว่ากว่า 15-20%
Price + Spec : เนื่องจาก 2 ส่วนนี้ ถือว่าเป็นจุดตัดสินใจของลูกค้าเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงขอพูดรวมกันน่าจะเห็นภาพได้ง่ายกว่า ราคากับของที่ได้
สามารถตอบทั้งเรื่องของความตั้งใจ และ ความคุ้มค่า บ่งบอกถึงความจริงใจในการพัฒนาของโครงการรายย่อย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับตัวโครงการได้ดี …
– Weaknesses
Advertising : เน้นการทำสื่อ Local Media เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้เงินในส่วนของค่าการตลาดของโครงการ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มเติมในส่วนของ
Online Media มากขึ้นก็พอช่วยให้เกิดการรับรู้ได้ดี
Promotion : ที่จริงรายย่อยก็ออกโปรโมชั่นมาแข่งขันได้ แต่เหมือนจริงๆแล้ว Owners ยังแยกในส่วนนี้ไม่ออกจากกำไร หรืออาจเป็นเพราะไม่เข้าใจกลไกการอัพราคา
เพื่อใส่โปรโมชั่น ดังนั้นจึงถือว่าเป็นจุดอ่อน และในส่วนของ การ Co Campaign กับสถาบันการเงิน เนื่องจากเป็นรายย่อยและบางครั้งฐานลูกค้า Profile ไม่ค่อยดี
สถาบันการเงินใหญ่ๆจึงไม่ค่อยให้ความสนใจเข้าร่วม
Land : บางที่ก็เป็นที่ดินมรดก ที่Owner มองว่าที่ดินของตัวเองดี จึงให้มูลค่าเอง แต่ความเป็นจริงในการแข่งขัน หรือสำหรับคนซื้อก็ไม่ได้ยอมรับในทำเลนั้นๆ
รวมถึงเงินทุนในการจะซื้อที่แปลงใหญ่ๆติดถนนมาพัฒนาโครงการก็ดูจะเป็นเรื่องไกลความสามารถ ดังนั้นจุดนี้ถือว่าเสียเปรียบ
Facilities : ในส่วนนี้ถ้ามองในเรื่องของ Facilities Area ก็ต้องยอมรับ เนื่องจากขนาดของที่ดิน ซึ่งอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ Owners ส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาโครงการ
โดยยึดพื้นที่ขายเป็นหลัก
ตารางสรุปภาพรวมเปรียบเทียบ ข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ของโครงการจากผู้ประกอบการ รายใหญ่ และ รายย่อย
อันนี้ยังไม่รวมถึงเรื่อง ของความน่าเชื่อถือ และเรื่องของคุณภาพงาน รวมถึงการเข้ามาดูแลหลังการขาย
ซึ่งในส่วนของทั้งหมดนี้ ผมมองว่าจับต้องตีค่าได้ยากและมีความหลากหลายทางความคิดและประสบการณ์ของแต่ละคนว่าเจอกันมาแบบไหนบ้าง
ส่วนการยกตัวอย่างโครงการ ขอให้เป็นการพูดคุยใน เพจ Facebook แล้วกันนะครับ ….
สุดท้าย… ขอขอบคุณ Cover page เท่ห์ๆส่วนตัวผมชอบมากๆ : Kanit Wipvasutti
หากมีข้อสงสัย หรือ ต้องการอยากสอบถาม เสนอแนะ
ก็สามารถ Line หรือ Inbox เข้ามาคุยสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ
ขอบคุณที่สนใจและติดตามนะครับ
Line ID : @Insocondo